วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

(4) การสื่อสารและไปรษณีย์

(4) การสื่อสารและไปรษณีย์
4.1 โทรศัพท์  โทรศัพท์จังหวัดชุมพร มีสำนักงานบริการโทรศัพท์ในสังกัดที่เป็นชุมสายเปิด จำนวน  5 แห่ง ดังนี้

สำนักงานบริการโทรศัพท์ชุมพร 1  รับผิดชอบชุมสายปิด 3 แห่ง คือ ชุมสายทุ่งคา    ชุมสายถ้ำสิงห์ และชุมสายวิสัยเหนือ
สำนักงานบริการโทรศัพท์ชุมพร 2 (ปากน้ำชุมพร)  รับผิดชอบชุมสายปิด 2 แห่ง คือ  ชุมสายท่ายาง และชุมสายหาดทรายรี
สำนักงานบริการโทรศัพท์หลังสวน   รับผิดชอบชุมสายปิด 5 แห่ง คือ ชุมสายละแม  ชุมสายพะโต๊ะ  ชุมสายปากน้ำหลังสวน ชุมสายควนหินมุ้ย และชุมสายคลองขนาน
สำนักงานบริการโทรศัพท์สวี   รับผิดชอบชุมสายปิด 2 แห่ง คือ ชุมสายทุ่งตะโก และชุมสายครน
สำนักงานบริการโทรศัพท์ท่าแซะ  รับผิดชอบชุมสายปิด 4 แห่ง คือ ชุมสายปะทิว ชุมสายรับร่อ ชุมสายวังครก และชุมสายเขาตีไก่

4.2 สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีโทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
จังหวัดชุมพรมีสถานีถ่ายทอดโทรทัศน์ 6 แห่ง ได้แก่ สถานีเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยจังหวัดชุมพร (ช่อง 11) สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ชุมพร สถานีโทรทัศน์ช่อง อ.ส.ม.ท.ชุมพร สถานีถ่ายทอดโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท.ชุมพร สถานีถ่ายทอดโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 และสถานีถ่ายทอดเครื่องส่งโทรทัศน์ ไอ.ที.วี. ชุมพร
สถานีวิทยุคลื่นเอ.เอ็ม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดชุมพร, สถานีวิทยุ วปถ.15 ชุมพร และสถานีวิทยุ วศป.1449 ชุมพร
สถานีวิทยุคลื่น เอฟ เอ็ม มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย จังหวัดชุมพร, สถานีวิทยุราชดำริสัมพันธ์ชุมพรสถานีวิทยุ อ. ส. ม. ท. ชุมพร , สถานีวิทยุกองทัพภาค 4 ชุมพร , สถานีวิทยุ สอต.ชุมพร  และสถานีวิทยุ อ.ส.ม.ท.หลังสวน
หนังสือพิมพ์ส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ข่าวชุมพร, เมืองชุมพร, ไทยนิวส์, หลักเมือง และเมืองอุทุมพร

4.3 การไปรษณีย์โทรเลข
การสื่อสารด้านการไปรษณีย์โทรเลขในจังหวัดชุมพร สามารถติดต่อได้ครอบคลุมในพื้นที่ต่าง ๆ ทุกอำเภอ โดยมีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขของการสื่อสารแห่งประเทศไทย  จำนวน 14 แห่ง และที่ทำการไปรษณีย์เอกชนในความควบคุมของการสื่อสารอีก จำนวน 35 แห่ง

(3) ระบบประปา


(3) ระบบประปา
                การประปาส่วนภูมิภาคให้บริการน้ำแก่ผู้ใช้น้ำในจังหวัดชุมพร โดยการควบคุมดูแลของสำนักงานประปา 2 แห่ง  ดังนี้
สำนักงานประปาชุมพร มีหน่วยบริการที่อยู่ในความรับผิดชอบอีก 3 แห่ง  ได้แก่ ท่าแซะ ปะทิว และมาบอำมฤต มีกำลังผลิตรวม 1,700 ลบ.ม./ชั่วโมง ปริมาณที่ผลิตได้ทั้งสิ้นต่อปี ประมาณ 7 ล้าน ลบ.ม. ในรอบปี 2546 สามารถให้บริการน้ำแก่ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบได้ จำนวน 18,471 ครัวเรือน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 4.34
สำนักงานประปาชุมพร ให้บริการน้ำครอบคลุมพื้นที่เขตเทศบาลเมืองชุมพร ตำบลวังไผ่ ตำบลบางหมาก ตำบลปากน้ำ ตำบลท่ายาง ตำบลสะพลี ตำบลบางลึก ตำบลนาทุ่ง และอีกหลายตำบลในเขตอำเภอเมืองฯ ปัจจุบันสำนักงานประปาชุมพรมีโรงกรองน้ำ 2 แห่ง คือ โรงกรองน้ำบริเวณสำนักงานประปาชุมพร มีขนาดกำลังผลิต 530 ลบ.ม./ชม. หรือ 12,720 ลบ.ม./วัน และโรงกรองน้ำ นาชะอัง ตั้งอยู่บริเวณศูนย์ราชการเขาสามแก้ว มีขนาดกำลังผลิต 1,000 ลบ.ม./ชม. หรือ 24,000 ลบ.ม./วัน

(2) ระบบไฟฟ้า


 (2) ระบบไฟฟ้า
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดชุมพร รับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สามารถให้บริการกระแสไฟฟ้าด้านแสงสว่างและอุตสาหกรรม ครอบคลุมพื้นที่ในเขตจังหวัดชุมพร และจังหวัดระนองบางส่วน ปัจจุบันได้จ่ายกระแสไฟฟ้าครบทุกอำเภอและตำบลแล้ว โดยได้จ่ายกระแสไฟฟ้า จำนวน 3 สถานี
สถานีจ่ายไฟฟ้าชุมพร จ่ายไฟฟ้าในพื้นที่อำเภอเมืองชุมพร อำเภอสวีบางส่วน และอำเภอกระบุรีบางส่วน
สถานีจ่ายไฟฟ้าอำเภอหลังสวน จ่ายไฟให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่อำเภอหลังสวน อำเภอละแม   อำเภอทุ่งตะโก  อำเภอพะโต๊ะบางส่วน และอำเภอสวีบางส่วน
สถานีจ่ายไฟฟ้าอำเภอท่าแซะ  จ่ายไฟให้กับผู้ใช้ไฟในพื้นที่อำเภอท่าแซะ  และปะทิว
ทั้ง 3 สถานีได้ให้บริการไฟฟ้าแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดชุมพร ครบถ้วนทุกอำเภอ 68 ตำบล 705  หมู่บ้าน จำนวน 118,646  หลังคาเรือน  คิดเป็นร้อยละ  90.79  ของครัวเรือนทั้งหม

(1) การคมนาคมและขนส่ง

 (1) การคมนาคมและขนส่ง
การคมนาคมขนส่งจังหวัดชุมพร สามารถติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียงได้ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
ทางบก จากกรุงเทพมหานครเดินทางสู่จังหวัดชุมพร โดยรถยนต์ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เพชรเกษม ระยะทางประมาณ 463 กิโลเมตร ส่วนการคมนาคมระหว่างจังหวัดนั้น จังหวัดชุมพรมีถนนสายหลักคือ ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านแยกชุมพรไปทางตะวันตกสู่ระนอง พังงา ภูเก็ต และทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านชุมพร  เลียบชายฝั่งตะวันออกไปจังหวัดสุราษฎร์ธานีสู่อำเภอหาดใหญ่  จ.สงขลา
ณ สิ้นปี 2546 จังหวัดชุมพร มีถนนเชื่อมโยงระหว่างหมู่บ้าน-ตำบล ในเขตอำเภอต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงชนบทชุมพร  จำนวน  400.229 กม. จำแนกเป็นถนนลาดยาง  371.062  กม.   (ร้อยละ 92.71)     และถนนลูกรัง 29.167  กม. (ร้อยละ 7.29) มีถนนตั้งอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินซึ่งเป็นถนนลูกรังทั้งหมด  กระจายอยู่ในอำเภอต่าง    อีก  จำนวน  112  สาย  รวมระยะทาง  506.628  กม.
ทางน้ำ ปัจจุบันการคมนาคมทางน้ำระหว่างอำเภอเมืองชุมพร-เกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี  มีท่าเรือตั้งอยู่ที่ตำบลท่ายาง  อำเภอเมืองชุมพร  เป็นเรือรับจ้างของเอกชนใช้เป็น เส้นทางเพื่อการท่องเที่ยว
ทางอากาศ   ท่าอากาศยานชุมพร  ตั้งอยู่ที่ตำบลชุมโค  อำเภอปะทิว  ห่างจากตัวเมืองชุมพร  ประมาณ  40  กิโลเมตร

สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน

สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
ร่างรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการได้รับบริการสาธารณะและ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานแห่งรัฐ
        ตามที่รัฐบาลที่ผ่านๆ มา ได้กำหนดนโยบายในการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภค โดยวิธีการยกเลิกกฎหมายเฉพาะในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจแต่งละแห่ง แล้วนำรัฐวิสาหกิจที่ถูกยกเลิกนั้น ไปจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน เพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งวิธีการแปรสภาพดังกล่าว สร้างความขัดแย้งให้กับสังคม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนและผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้า การประปา องค์การเภสัชกรรม ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ อันมีผลกระทบโดยตรงและรุนแรงต่อประชาชนทุกคน นอกจากนั้นแล้วยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุนสินค้าและบริการทุกชนิด ที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ ของประเทศอีกด้วย
        ทั้งนี้ จากผลของการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจน้ำมัน การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นบทเรียนที่เจ็บปวดและสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนอย่างเห็นได้ชัดมาแล้ว เพียง 5 ปี ที่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) แปรสภาพไปเป็น บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ทำให้ราคาน้ำมันสูงมากกว่าเท่าตัว ในขณะที่ บมจ.ปตท. และบริษัทในเครือ กลับมีกำไรรวมกันมากกว่า 1 แสน 2 หมื่นล้านบาท ซึ่ง บมจ.ปตท. ได้โต้แย้งในเรื่องกำไรทั้งหมดนี้ว่า ไม่ได้มาจากการขายน้ำมันเท่านั้น แต่มาจากกิจการอื่นๆ ที่ บมจ.ปตท. ขยายสายผลิตภัณฑ์ออกไป อาทิ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิต จำกัด (มหาชน) เป็นต้น แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว หาก ปตท. ยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ รัฐก็สามารถกำหนดนโยบายให้ ปตท. ลดกำไรในส่วนของราคาน้ำมันที่ขายลง แล้วนำกำไรจากบริษัทอื่นๆ ในเครือ ที่ ปตท. ได้รับ มาใช้ในการดำเนินงานและขยายกิจการแทน ก็สามารถทำได้ โดยไม่สร้างผลกระทบต่อกิจการแต่อย่างใดเลย แต่ในทางกลับกัน เมื่อ ปตท. แปรสภาพเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ รัฐก็ไม่สามารถเข้าแทรกแซงนโยบายด้านกำไรได้ ส่งผลให้ บมจ.ปตท. มีกำไรที่สูงมาก สร้างผลตอบแทนมหาศาลให้กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มทุนธุรกิจการเมือง ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นเป็นพิเศษเป็นจำนวนมาก ดังที่เคยปรากฏเป็นข่าวอย่างแพร่หลายมาแล้ว ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเลยแม้แต่น้อย ทั้งๆ ที่ทรัพยากรน้ำมันเป็นทรัพยากรของชาติ ที่ควรก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
        เช่นเดียวกันกับ สาธารณูปโภคผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งเป็นกิจการสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อประชาชนทั้งชาติ และเป็นความมั่นคงทางเศรษฐกิจอันสำคัญที่สุดของประเทศ ที่จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะ ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 และมาตรา 87 ที่ได้รับการยกเว้นในการแข่งขันเสรี เพื่อป้องกันการผูกขาดโดยบุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ จึงได้ให้อำนาจรัฐเป็นผู้ประกอบกิจการนั้นเอง เพื่อประโยชน์ของประชาชน เพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน
        ทรัพย์สินของ กฟผ. ได้มาจากทรัพย์สินของแผ่นดิน สร้างและดำเนินกิจการมา ด้วยเงินค่าใช้กระแสไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนโดยไม่ได้รับการอุดหนุนงบประมาณประจำปี หรืองบประมาณลงทุนพิเศษใดๆ จากรัฐบาล นอกจากนั้นแล้ว พื้นที่ใช้สอยประโยชน์ของกิจการไฟฟ้าส่วนใหญ่ ยังได้มาจากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทรัพย์สินแผ่นดิน เขื่อน พื้นที่สันเขื่อน สัมปทานเหมือง การบริจาคที่ดิน การได้รับสิทธิในการสัมปทานเหมืองถ่านหินจากรัชการที่ 7 ที่ได้ทรงระบุไว้อย่างชัดเจนว่าทรงพระราชทานไว้เพื่อ รัฐบาลสงวนไว้ใช้ราชการ เพราะจะเป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองต่อไปหาน้อยไม่อาทิ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เหมืองแม่เมาะ เหมืองกระบี่ เป็นต้น และที่สำคัญอย่างยิ่ง ทรัพย์สินส่วนใหญ่ ยังได้มาจากการเวนคืนที่ดินจากประชาชนในการสร้างโรงไฟฟ้าและการรอนสิทธิประชาชนโดยการวางพาดสายส่งแรงสูงผ่านที่ดินของประชาชนและที่สาธารณะทั่วประเทศ ที่รัฐธรรมนูญได้ระบุอย่างชัดเจนว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จะทำได้ต่อเมื่ออาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะการเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคดังนั้น เมื่อ กิจการไฟฟ้า ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 49 เพื่อการเวนคืนดังกล่าว จึงเป็นที่ประจักษ์และชัดแจ้งว่า กิจการไฟฟ้า เป็นสาธารณูปโภคที่ได้รับการคุ้มครองตามมาตรา 50 และ 87
        ดังนั้น การที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังและการทรวงพลังงาน อาศัยอำนาจบทบัญญัติแห่งกฎหมายพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาใช้ในการแปรสภาพการไฟฟ้าฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อันเป็นกิจการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งสาธารณูปโภคที่มีความจำเป็นต่อประชาชน ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติ การรักษาประโยชน์ส่วนรวม จึงเป็นสิ่งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 49 , 50 และ 87
        ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการได้รับบริการสาธารณะและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานแห่งรัฐ ไม่ให้ตกเป็นเครื่องมือแสวงหาผลประโยชน์ของนักลงทุนธุรกิจการเมือง ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อประชาชนและทำลายความมั่นคงของประเทศ จึงควรขยายความรัฐธรรมนูญบางมาตราที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าวที่เคยมีในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ให้เกิดความชัดเจน ทั้งนี้ โดยมีเจตนารมณ์ 4 ประการ คือ
         1. ดำรงรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ ที่จำเป็นแก่ประชาชนโดยตรง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค องค์การเภสัชกรรม การรถไฟแห่งประเทศไทย การโทรศัพท์บ้านพื้นฐาน การไปรษณีย์ โรงพยาบาลของรัฐ มหาวิทยาลัยของรัฐ โรงเรียนของรัฐ และกิจการบริการสาธารณะอื่นๆ ที่เป็นความจำเป็นแก่ชีวิตของประชาชนทั่วประเทศอย่างเท่าเทียมกัน
         2. ให้รัฐวิสาหกิจและบริการสาธารณะ ตามข้อ 1 ดำเนินการต่อไปตามกฎหมายเฉพาะที่จัดตั้งขึ้น และให้รัฐมีหน้าที่ในการสนับสนุนการดำเนินงาน (เนื่องจากรัฐบาลมักจะอ้างเรื่องหนี้สาธารณะ ไม่ให้รัฐวิสาหกิจกู้เพิ่ม เพื่อบีบให้เข้าตลาดหลักทรัพย์)
         3. การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจและบริการสาธารณะ ตามข้อ 1 จะต้องมีราคาไม่สูงกว่าเอกชนดำเนินการ และให้มีองค์กรอิสระในการกำกับดูแลกิจการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะโดยเฉพาะ
         4. เอกชนจะดำเนินการในเชิงแข่งขันเสรีในกิจการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ตามข้อ 1 ได้ไม่เกินสัดส่วนที่วิสาหกิจของรัฐเป็นผู้ดำเนินการ (หรือไม่เกินกึ่งหนึ่ง) เท่านั้น เพื่อรัฐคงความมั่นคงไว้อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของประเทศ ไม่ให้เอกชนมีอำนาจต่อรองในการกำหนดราคามากเกินควร หรือร่วมกันผูกขาดหรือสมยอมราคากัน และเพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงของรัฐ
        การจัดสรร สาธารณูปโภค ขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนให้ทั่วถึง เป็นหนึ่งในภารกิจที่รัฐต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน คือปัจจัยที่บ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การจัดสรร ระบบไฟฟ้าน้ำประปา ที่เพียงพอต่อความต้องการ และกระจายไปในทุกพื้นที่ ตลอดจนถึงการจัดหาทรัพยากรอันเป็นวัตถุดิบ และการบริหารจัดการ ระบบสาธารณูปโภคที่ดี เพื่อให้พี่น้องประชาชนคนไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องในต่างจังหวัด ในชนบทห่างไกล มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาความเจริญของประเทศในระดับที่ดียิ่งๆขึ้นไป

สาธารณูปการ (Public Facilities)

สาธารณูปการ (Public Facilities)
          สาธารณูปการ หมายถึง บริการเพื่อสาธารณะซึ่งดำเนินการโดยองค์กรของรัฐหรือเอกชนโดย
การควบคุมของรัฐบาล ซึ่งได้แก่บริการในเรื่องเคหการ การศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม การอนามัย
ความปลอดภัย สันทนาการ และบริการอื่น ๆ ตามความต้องการของประชาชน  และเป็นกิจการที่ไม่
หวังผลกำไร
            สาธารณูปการ มีหลายประเภทและชนิด ซึ่งพอจะสรุปผลได้ดังนี้
1.      การบริการ ได้แก่ ศาล ศาลากลาง เทศบาล สถานที่ราชการอื่น ๆ เช่น ที่ทำการไปรษณีย์ สำนักงานแรงงาน เป็นต้น
2.      วัฒนธรรม ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม โรงละคร ท้องฟ้าจำลอง
3.      การศึกษา  ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
4.      การอนามัย ได้แก่ โรงพยาบาล สถานีอนามัย ศูนย์สาธารณสุข
5.      เคหการ ได้แก่ โครงการเคหการ
6.      สันทนาการ ได้แก่ สวนสาธารณะ  สนามกีฬา
7.      ความปลอดภัย ได้แก่ สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง เป็นต้น

สาธารณูปโภค (Public Utilities)

สาธารณูปโภค (Public Utilities)
เมื่อกล่าวถึง สาธารณูปโภค เรามักจะมีการรวมไปถึงสาธารณูปการ หรือการบริการของรัฐในด้านต่าง ๆ ดังนั้น จึงน่าที่จะได้ทำความเข้าใจกับความหมายของ สาธารณูปโภค ให้ตรงกัน
Infrastructure (n.) – the basic systems and structures that a country or organization needs in order to work properly, for example transport, communications, and banking systems (Longman Dictionary of Contemporary, 1995).
ในความหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเมือง หมายถึง บริการขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรจะได้รับในชุมชน รัฐจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและรับภาระในการให้บริการ (อาจจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม) บริการดังกล่าวจะปรากฎในในเขตเมือง (Urban Area) เป็นส่วนใหญ่ Infrastructure จึงแบ่งออกเป็น Public Utilities (สาธารณูปโภค) และ Public Facilities (สาธารณูปการ)
หลักเกณฑ์ (Criteria) ในการจำแนกประเภทของบริการพื้นฐานดังกล่าว มีดังนี้คือ
                                                                       

Criteria                  
Public Utilities
Public Facilities
ชนิดของบริการ  
บริการที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันของประขาชนทั่วไป
โดยทั่วไป ประชาชนไม่จำเป็น
ต้องรับบริการเป็นประจำทุกวัน
ลักษณะของสิ่งที่ให้บริการ
มีลักษณะทางกายภาพ (Physical) เช่น ประปา ไฟฟ้า
มีลักษณะที่มิใช่ทางกายภาพ
(Non-Physical) เช่น การรักษา
การกระตุ้นให้รู้จักคิด
รูปแบบของการให้บริการ
มีลักษณะเป็นเส้น สาย (Line)
มีลักษณะเป็นจุด (Point)
ลักษณะการให้บริการ
บริการเข้าหาผู้รับบริการ
ผู้รับบริการไปรับบริการจากผู้ให้
บริการ


จากเกณฑ์การจำแนกดังกล่าวข้างต้น จึงอาจสรุปได้ว่า ขณะนี้ สาธารณูปโภคเป็นตัวชี้
ขอบเขต(boundary) ของเมือง (เทศบาล) หรือชุมชน และทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เป็นตัวส่งเสริมและตัววัดระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ในชุมชนนั้น ๆ
            ดังนั้น สาธารณูปโภค จึงได้แก่ ถนน โทรศัพท์ แก๊ส ไฟฟ้า ประปา การระบายน้ำ การกำจัด
ขยะ ฯลฯ ซึ่งสามารถจะจัดกลุ่มประเภทของสาธารณูปโภคได้ดังนี้ คือ
            ถนน โทรศัพท์                             การขนส่ง          
            แก๊ส ไฟฟ้า                                 เชื้อเพลิง
            ประปา ระบายน้ำ กำจัดขยะ         การสื่อสาร